Monday, October 29, 2007

Halloween

Citrouille et l'Halloween





T'es-tu déjà demandé d'où provient la coutume d'utiliser des citrouilles lors de l'Halloween? Le petit texte qui suit te permettra d'en connaître un peu plus long à ce sujet...




La fête de l'Halloween est une tradition chrétienne aussi vieille que la décoration du sapin de Noël. Une légende irlandaise est à l'origine de l'utilisation de la citrouille lors de l'Halloween. Cette légende raconte que Jack ne peut pas entrer au paradis, car il est avare (il aime amasser des richesses pour lui-même et ne veut pas les dépenser). Jack ne peut pas non plus aller en enfer, car il s'est moqué du diable ! Il n'a pas d'autre choix que celui de se promener avec sa lanterne tout autour du monde, jusqu'au jour du jugement dernier.
La lanterne de Jack, c'est une citrouille dans laquelle on a mis une chandelle. On la nomme aussi lanterne-potiron. Cette tradition nous rappelle la peur que nous avons tous eue (et que nous avons peut-être encore) des monstres de la nuit.
La fête de l'Halloween est aujourd'hui destinée aux enfants. Ils se déguisent et vont de maison en maison à la recherche de friandises. La nuit du 31 octobre, les rues sont envahies de fantômes, de pirates et d'affreuses sorcières.





ประวัติวันฮาโลวีน




วันฮาโลวีน เรามักจะคุ้นเคยเรียกกันเป็นภาษาปากว่า วันปล่อยผี ในวันดังกล่าวมักมีการจัดตกแต่งบ้านเรือน ร้านค้า โดยใช้ฟักทองที่คว้านเป็นรูปผี หรือใช้วัสดุอื่น ๆ ประดิษฐ์เป็นตัวผีหรือทำให้มีหน้าตาเป็นผีเพื่อสร้างบรรยากาศให้กลายเป็นงานรื่นเริง วันฮาโลวันมีที่มาอย่างไร และเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้นในเรื่องนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล แห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้จัดทำคำอธิบายถึงประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของ “ฮาโลวีน” ไว้ดังนี้
ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก Halloween เป็นคำภาษาอังกฤษ เพี้ยนมาจากคำ All Hallows Evs ซึ่งแปลว่า วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย โดยวิธีตัดต่อ Hallow + Eve = Halloween คำ Hallow เป็นคำแองโกลแซกซัน แปลว่า ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ตรงกับภาษาเยอรมันว่า heiligen ในปัจจุบันนิยมใช้คำมาจากภาษาละตินว่า sanctify คำ Hallow ยังมีใช้ในบทสวดอธิษฐานเก่า ๆ เช่น Hallowed be thy Name (ขอพระนามจงเป็นที่สักการะ)
คำ Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ คำ All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์หรือคริสต์มาสนั่นเอง วันก่อนวันสมโภชคริสต์มาสมี Chrismas Eve ที่นิยมเรียกว่า คืน (ก่อน) คริสต์มาส วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายก็มี All Hallowmas Eve ซึ่งต่อมาย่อเป็น Halloween โดยมีงานรื่นเริงและพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับคืนคริสต์มาส ชาวคาทอลิกพร้อมใจกันเลื่อนพิธีกรรมทางศาสนาไปหลังวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และเรียกว่า วันวิญญาณในแดนชำระ (All Souls Day) เพื่อให้คู่กับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย
(All Saints Day)
การสมโภชนักบุญทั้งหลายเริ่มโดยสันตะปาปาโบนีเฟสที่ 4 (Boniface IV ครองอำนาจ ค.ศ. ๖๐๘–๖๑๕) โดยกำหนดวันที่ ๑๓ พฤษภาคมของทุกปี ตั้งแต่ ค.ศ. ๖๑๓ เป็นต้นมา สาเหตุเนื่องจากเป็นวันเปิดโบสถ์แพนทีอัน (Pantheon) อันเป็นโบสถ์สรรพเทพของชาวโรมันมาแต่เดิม และจักรพรรดิโฟกัส (Phocas) ยกให้เป็นของคริสต์ศาสนา ต่อมา สันตะปาปากรีโกรีที่ ๔ (Gregory IV ครองอำนาจ ค.ศ. ๘๒๗–๘๔๔) เปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ พฤศจิกายน ตั้งแต่ ค.ศ. ๘๓๕ เป็นต้นมา
ชาวคาทอลิกขณะนั้นถือว่าวันฮาโลวีนมีความสำคัญคู่เคียงกันกับวันคริสต์มาสและวันอีสเตอร์จึงเริ่มงานตั้งแต่วันก่อนหรือวันสุกดิบ ขณะนั้นเกาะอังกฤษยังรับอำนาจของสันตะปาปาอยู่ ชาวอังกฤษจึงรับนโยบายของสันตะปาปาไปปฏิบัติตาม
ด้วยเหตุที่ชาวเผ่าเคลต์ของเกาะอังกฤษ (ไอร์แลนด์และสกอตแลนด์) ถือเอาวันที่ ๑ พฤศจิกายน เป็นวันต้นฤดูหนาวและเป็นวันขึ้นปีใหม่ (Samhoin) มาเป็นเวลานานแล้ว โดยจัดพิธีเป็น ๒ วัน คือวันสุกดิบ (๓๑ ตุลาคม) เป็นวันทำบุญเลี้ยงผี ซึ่งเชื่อกันว่าทั้งคืนจะมีผีออกเพ่นพ่านรับส่วนบุญ เมื่อจัดทำพิธียกอาหารทำบุญแล้วก็ปิดประตูหน้าต่างอยู่แต่ในบ้านอธิษฐานขอให้ผีไปที่ชอบ ๆ วันรุ่งขึ้น (๑ พฤศจิกายน) เป็นวันปีใหม่ ได้ทำพิธีบูชาเทพเจ้าตามด้วยการรื่นเริงตามประเพณี เมื่อชนพวกนี้ยอมรับนับถือศาสนาคริสต์แล้วก็ยังคงปฏิบัติประเพณีนี้ต่อมา ครั้นได้รับนโยบายจากสันตะปาปาแล้ว ผู้นำศาสนาก็หาวิธีแทรกพิธีกรรมของศาสนาคริสต์เข้ากับประเพณีเดิม วันสุกดิบจึงกลายเป็นวันทำบุญให้วิญญาณของผู้ล่วงลับที่อาจจะยังไม่ได้ขึ้นสวรรค์ คือวิญญาณที่ยังใช้โทษใช้บาปกรรมของตนยังไม่หมดสิ้น ยังอยู่ในแดนชำระ (purgatory) จึงทำพิธีสวดอ้อนวอนขอพระเป็นเจ้าเมตตาให้ได้ขึ้นสวรรค์เร็วขึ้น วิญญาณเหล่านี้จึงไม่น่ากลัวเหมือนผีที่เร่ร่อนขอส่วนบุญ เมื่อชาวบ้านหันมานับถือศาสนาคริสต์แล้วก็ไม่เชื่อเรื่องผีมาขอส่วนบุญอีก แต่ก็ยังถ่ายทอดประเพณีนี้ต่อไป โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ คือคืนวันสุกดิบถือเป็นคืนเล่นผี มีผู้แต่งตัวสมมุติเป็นผีออกเพ่นพ่านขอส่วนบุญ ใครที่ไม่ชอบแต่งตัวเป็นผีก็ยินดีจัดเลี้ยงต้อนรับผีในครอบครัวของตน โดยคว้านฟักทองหรือใช้วัสดุอื่นทำให้มีหน้าตาเป็นผี สร้างบรรยากาศให้มีผีในบ้านต้อนรับผีนอกบ้าน กลายเป็นงานสนุกสนานรื่นเริงที่มีบรรยากาศแปลก วันรุ่งขึ้นจึงเป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และต่ออีกวันหนึ่งจึงเป็นวันทำบุญให้วิญญาณในแดนชำระ
เมื่อชาวไอริชและชาวสกอตอพยพไปตั้งหลักแหล่งในสหรัฐอเมริกาก็นำเอาประเพณีนี้ไปปฏิบัติ ปรากฏว่าถูกใจชาวอเมริกันทุกเชื้อชาติ จึงปฏิบัติตามกันอย่างจริงจังตลอดมา และตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมาก็กลายเป็นเทศกาลประจำชาติมาจนทุกวันนี้.





Thursday, October 25, 2007

ตำนานพิซซ่า


กาลครั้งหนึ่งในสมัยกรุงโรมโน้น ได้มีผู้ค้นพบหลักฐานบันทึกว่า .."มีแป้งแผ่นกลมๆบางๆปรุงด้วยน้ำมะกอก สมุนไพร น้ำผึ้ง วางบนหินร้อน สักพักก็สุก" สมัยนั้นเรียกกันว่า Placenta กาลต่อมาในปีค.ศ.79 นักโบราณคดีพบว่ามีร้านขายพิซซ่าอยู่ที่เมืองปอมเปอี ที่เคยถูกภูเขาไฟระเบิดพ่นลาวาทับทั้งเมือง


เวลาผ่านไป(เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมานี้) เมืองนาโปลี ได้กลายเป็นต้นกำเนิดของพิซซ่าสมัยใหม่ โดยมีร้านพิซซ่าแห่งแรกชื่อพอร์ต อัลบ้า (Port’ Alba) และก็มีอีกหลายๆร้านเปิดตามมา พิซซ่าชาวนาโปลีจะอบในเตาที่ก่อด้วยหินจากภูเขาไฟเวซุเวียส เนื่องจากกระจายความร้อนได้สม่ำเสมอ และใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง

ต่อมามีคนทำพิซซ่ามือเยี่ยมคนหนึ่งนาย ดอน ราฟาเอล เอสโพสิโต เป็นคนแรกที่ใช้มอซซาเรลล่าชีส หรือชีสนมควาย เป็นเครื่องปรุง ชาวเมืองนิยมชมชอบมากจนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของพิซซ่านาโปลี และแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน




เอกลักษณ์สำคัญของพิซซ่านาโปลี ต้องอบในเตาที่อุณหภูมิ 340 องศาเซลเซียส ต้องใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ต้องมีชีสมอซซาเรลล่า ผงเครื่องเทศออริกาโน (Origano) ปลาเค็มเอนโชวี (Anchovi)* มะเขือเทศ เบซิล (Basil) และกระเทียม



พอช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนอเมริกันก็หัดทำพิซซ่ากินกันบ้าง จนได้สูตรแบบอเมริกัน และแพร่หลายไปทั่วโลก




ครั้นปีค.ศ. 1960 เกิดเกิดสงครามเวียดนามทหารอเมริกันเข้ามาตั้งฐานทัพในเมืองไทย ได้นำเอาวัฒนธรรมการกินพิซซ่าเข้ามาด้วยแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก สมัยนั้นต้องไปกินกันตามโรงแรม และห้องอาหารอิตาเลียนเท่านั้น แต่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2513 ร้านพิซซ่าฮัท มาเปิดสาขาแรก เด็กไทย คนรุ่นใหม่ก็แห่กินกันทั้งบ้านทั้งเมือง ทุกวันนี้การกินพิซซ่าไม่ได้ยากลำบากอีกแล้ว เพียงโทรศัพท์กริ๊งเดียวภายใน 15 นาทีก็มาส่งถึงบ้านแล้ว

Tuesday, October 16, 2007

Musiques-Les Francofolies



Les Francofolies sont un festival de musique créé en 1984 à La Rochelle en Charente-Maritime à l'initiative de Jean-Louis Foulquier. Le festival a depuis lieu tous les ans au mois de juillet (à l'exception de l'édition de 2003 annulée en raison du conflit entre l'État et les Intermittent du spectacle) et accueille plus de 122 000 spectateurs au cours de la semaine.




Les FrancoFolies de Montréal

Un événement unique !
800 000 spectateurs en 10 jours
1 000 artistes provenant d’une douzaine de pays
Plus de 200 spectacles dont 150 gratuits en plein air
7 scènes extérieures

UNE AMBIANCE DE FÊTE POPULAIRE !
Du world beat au rock en passant par l’électronique, la chanson et le hip-hop
Un millier d’artistes, musiciens, vedettes de la chanson, figures montantes et nouveaux venus provenant d’une douzaine de pays se donnent rendez-vous chaque été dans la plus grande ville francophone d’Amérique afin de célébrer les musiques de la francophonie.

Des centaines de milliers de festivaliers envahissent les rues du centre-ville de Montréal, fermées à la circulation automobile pour l’occasion, afin d’assister à quelque 150 spectacles gratuits présentés sur sept scènes extérieures spécialement aménagées. Une cinquantaine de spectacles en salle, avec les plus grandes vedettes de la francophonie, sont également offerts.



Amuseurs publics, acrobates, jongleurs, spectacles en plein air, animation pour enfants, stands de restauration, de souvenirs et d’objets d’artisanat, équipes d’accueil, de sécurité et de premiers soins et aires de repos vous attendent tous les jours, de 15 h à minuit !





Cursors from DressUpMyspace.com Falling Images, MySpace Codes, MySpace Layouts, MySpace Glitter Graphics from DressUpMySpace.com